จริงหรอ? ขับรถชนท้าย....คันหลังผิดเสมอ

       แทบจะ 95 % เมื่อพูดถึงการขับรถชนท้าย คันหลังมักจะผิดเสมอ  เพราะตามกฏหมาย พรบ.การจราจรทางบก มาตรา 40 พ.ศ. 2522 ระบุไว้ว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างคันหน้าพอสมควรในระยะที่หยุดรถได้โดยปลอดภัย เมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ

   แต่หลักเหตุผลที่บอกว่า ขับรถ “ชนท้ายผิดเสมอ” นี้ถือว่าไม่เป็นความจริงเสมอไป เช่น เกิดจากคันหน้าเบรคกระทันหัน ขับรถโดยประมาท มีอาการมึนเมา คันหน้าจะเป็นฝ่ายผิด หรือหากเป็นเหตุการณ์ที่เป็นการชนท้ายแบบเป็นทอดๆ และรถคันแรกเบรคกระทันหัน ผู้ที่รับผิดชอบ คือ รถยนต์ที่ตัดหน้ารถคันแรกนั่นเอง

 

ภาพถ่ายโดย Thomas จาก Pexels

 

กรณี : รถเราเป็นฝ่ายขับชนท้าย

        สำหรับกรณีนี้ “ผู้ขับขี่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ” หากมีประกันรถยนต์ค่าเสียหายทีเกิดขึ้น “บริษัทประกันจะเป็นผู้ชดใช้ของค่าเสียหาย” ให้แก่เราตามเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ แต่ต้องเป็นไปตามวงเงินที่ถูกระบุไว้ในกรมธรรม์

        หากเกินวงเงินความคุ้มครอง เราต้องเป็นผู้รับผิดชอบส่วนต่างที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด และอาจถูกขึ้นค่าเบี้ยประกันหากต่อเบี้ยประกันในปีถัดไปเพราะถือเป็นผู้เอาประกันประวัติไม่ดีเนื่องจากเป็นฝ่ายผิด

 

ภาพถ่ายโดย Aleksandr Neplokhov จาก Pexels

 

กรณี : รถเราถูกชนท้าย

        หากกรณีถูกคันหลังมาชนท้าย “เราจะเป็นฝ่ายถูก” สำหรับค่าเสียหายต่างๆนั้นทาง “คู่กรณีที่เป็นผู้ชนท้ายต้องเป็นคนรับผิดชอบ” ทั้งหมด ซึ่งหากทางคู่กรณีมีประกันเช่นเดียวกันก็ให้ ประกันเป็นผู้ไกล่เกลี่ย และเคลียร์ในส่วนของค่าเสียหายและทำการตกลงกับคู่กรณี  อีกทั้งทางบริษัทประกันของเราต้องดูแลในเรื่องของผลประโยชน์ของเราอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบนั่นเอง เพราะเราสามารถเรียกขอรถใช้ระหว่างซ่อมได้ หรือเรียกเป็นค่าสินไหมทนแทนค่าเสียเวลาได้นั้นเอง

 

กรณี : ชนท้ายไม่มีประกันภัยรถยนต์

       เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากคุณเกิดขับไปชนท้ายรถคนอื่นแล้วคุณก็ไม่ได้ทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ คุณจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถคู่กรณีด้วยตัวคุณเองทั้งหมด และยังจะต้องซ่อมรถของคุณด้วยตัวเองอีกด้วย

 

กรณี : ชนท้ายไม่มีประกันทั้งคู่

       หากคุณและคู่กรณีไม่มีประกันทั้งคู่ ต้องเคลียร์กันเองถึงค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าตามกฎหมายแล้วหากคุณชนท้ายโอกาสที่คุณจะเป็นฝ่ายผิดมีถึง 95 % ซึ่งก็คงต้องไปคุยตกลงค่าเสียหายต่างๆ พร้อมไปแจ้งความ เพื่อลงบันทึกประจำวัน เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดเบี้ยวจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยต่างๆนั้นเอง

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก thaicarlover.com/

12 มิถุนายน 2563

ผู้ชม 5051 ครั้ง

Engine by shopup.com