จริงหรอ? ขับรถเกียร์ออโต้ ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ก็ได้

 

 

       หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินผ่านหูมาบ้างว่ามีบริษัทรถยนต์บางค่ายจะแจ้งลูกค้าว่าเกียร์ออโต้ (เกียร์อัตโนมัติ) นั้นไม่ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้งาน แต่มันจะจริงหรอครับ? เกียร์อะไรจะอึดถึกขนาดนั้น!!!

        แต่ความเป็นจริงแล้ว เกียร์อัตโนมัติก็ต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์นะครับ เป็นไปไม่ได้เลยที่ไม่ต้องเปลี่ยน เนื่องจากน้ำมันเกียร์มีความสำคัญอันดับต้นๆในการหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆที่เคลื่อนไหวกันอยู่ในห้องเกียร์ โดยน้ำมันเกียร์จะช่วยยืดอายุการใช้งานเกียร์ยาวนานขึ้น   ไม่ว่าจะเป็นเกียร์อัตโนมัติแบบใดก็ต้องการการหล่อลื่นที่ดีและสดใหม่อยู่เสมอแทบทั้งนั้น ได้อ่านแบบนี้แล้ว ไปเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะที่กำหนดกันดีกว่าครับ เพราะค่าเปลี่ยนน้ำมันเกียร์สบายกระเป๋ากว่าเปลี่ยนเกียร์ใหม่หลายเท่าเลยครับ

 

 

แล้วควรเปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติเมื่อไหร่หละ ?

        แนะนำให้ตรวจสอบในคู่มือรถที่ขับอยู่เป็นหลักนะครับ ซึ่งในคู่มือรถส่วนใหญ่จะบอกว่าให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทุกๆ 30,000 หรือ 40,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 2 ปีครั้ง แต่ถ้าเป็นรถที่วิ่งเยอะๆหรือวิ่งๆหยุดๆในกรุงเทพที่ต้องเปลี่ยนเกียร์บ่อยๆ อาจเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ที่ 10,000 – 20,000 กิโลเมตร หรือประมาณปีละครั้ง การเปลี่ยนน้ำมันเกียร์จะช่วยให้น้ำมันเกียร์สะอาดมีประสิทธิภาพดีขึ้นครับ

 

จะรู้ได้อย่างไรว่า รถเราต้องใช้น้ำมันเกียร์แบบไหน ?

        สามารถตรวจสอบได้จากคู่มือรถได้เลยครับ ซึ่งจะมีข้อมูลแจ้งไว้อยู่ว่าต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ที่ได้รับมาตรฐานใด และน้ำมันเกียร์แบบไหน ซึ่งแนะนำให้ใช้ให้ตรงตามที่คู่มือรถกำหนดนะครับ เพื่อความปลอดภัยของเกียร์

 


 

*** เกร็ดความรู้เล็กๆ ***

การทำงานของน้ำมันเกียร์

       1. ถ่ายกำลังจากปั๊มไปยังกังหันในทอร์คคอนเวอร์เตอร์
       2. ถ่ายพลังไฮโดรลิกไปควบคุมการทำงานของคลัตช์ และอุปกรณ์ภายในกระปุกเกียร์
       3. ถ่ายเทความร้อนจากกระปุกเกียร์ออกสู่ภายนอก
       4. หล่อลื่นแบริ่ง คลัตช์ เฟือง บุช และอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ ภายในกระปุกเกียร์
       5. ป้องกันการสึกกร่อนของโลหะภายในกระปุกเกียร์

คุณสมบัติน้ำมันเกียร์

       1. ไม่ทำปฏิกิริยาหรือกัดกร่อนวัสดุในกระปุกเกียร์ เช่น โลหะ ยาง พลาสติกหรือวัสดุอื่นๆ
       2. ไม่ติดไฟ ไม่เสื่อมสภาพ และทนต่อความร้อนได้สูง
       3. ป้องกันการเกิดสนิม ป้องกันความชื้น อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟองตามมา
       4. ไม่มีความหนืดมาก มีลักษณะใสที่อุณหภูมิต่ำ สามารถแทรกซึมผ่านวาล์วหรือช่องว่างต่างๆ ได้

 

 

 

 

 

ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆ จาก

คุณ อาคม รวมสุวรรณ (ติดตามคุณอาคมได้ที่ chang.arcom)

เว็บไซต์ grandprix.co.th 

26 ตุลาคม 2562

ผู้ชม 3351 ครั้ง

Engine by shopup.com